พามารู้จัก ‘เครื่องตรวจสอบความเผ็ด’ แบบพกพาฝีมือคนไทย คิดค้นโดยทีมวิจัยจาก ม.อ.

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในแวดวงเทคโนโลยีนวัตกรรม สำหรับครั้งนี้เราก็มีข่าวที่น่าสนใจจะมาแจ้งให้ทุกคนได้ทราบว่า ตอนนี้ ม.อ. คิดค้น เครื่องวัดความเผ็ดแบบพกพาที่สามารถอ่านค่าได้บนสมาร์ทโฟนได้แล้ว ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเล้ยย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจของเครื่องวัดความเผ็ดที่ประดิษฐ์โดย ม.อ.

  1. ‘เครื่องวัดความเผ็ดของพริกแบบพกพา’ ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยให้ดีขึ้น
  2. เครื่องวัดความเผ็ดแบบพกพา เป็นการวัดปริมาณแคปไซซิน (Capsaicin) ที่อยู่ในพริก โดยนำพริกแห้งที่ต้องการทราบความเผ็ดมาผสมกับแอลกอฮอล์ให้สารแคปไซซินละลายออกมา
  3. จากนั้นเสียบแผ่นตรวจจับสารเคมีที่ตัวเครื่อง และนำสารละลายที่ได้ไปหยดลงแผ่นตรวจ สารแคปไซซินจะทำปฏิกิริยากับแผ่นตรวจจับสารเคมี เกิดเป็นกระแสไฟฟ้ายิ่งมีแคปไซซินเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้ามากขึ้น
  4. นอกจากนี้ ม.อ.ยังได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ชื่อว่า Chilica-Pod ขึ้นมาเพื่อรองรับกับผลการวิเคราะห์ความเผ็ด ทำให้สามารถอ่านค่าความเผ็ดของพริกบนสมาร์ทโฟนได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

และนี่ก็คืออีกหนึ่งความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมไทยที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจสำหรับคอนวัตกรรมกันทุกคน และเราก็หวังว่าสิ่งประดิษฐ์นี้จะมีการผลิตออกมาทำตลาดในเร็ววันนี้

ที่มา

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This