Demand-Side Platform (DSP) คืออะไรและทำงานยังไง? มาดูกัน!

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

Demand-Side Platform (DSP) เป็นโปรแกรมที่มีไว้สำหรับส่วนงานที่ทำงานด้าน Media Buying หรือ Media Optimize ใช้สำหรับซื้อโฆษณาออนไลน์โดยสามารถเลือกตำแหน่งหรือ Inventory ได้มากมายหลาบรูปแบบ รองรับทั้งที่เป็น Banner ปกติ หรือจะเป็น Video Ads, Audio Ads ก็สามารถลงโฆษณาได้ทั้งหมดเลย สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องไปนั่งดิวที่ละรายแบบการโฆษณาในแบบเดิมเมื่อในอดีต

โดยเจ้า DSP เองก็ยังมีความสามารถเลือกกลุ่มผู้มองเห็นโฆษณาหรือกลุ่มลูกค้าได้ด้วย สามารถ Integration เข้ากับ Data management platform (DMP) ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะนำข้อมูลที่เป็น First party data หรือ Third-party data ก็เลือกหากันแบบจับวาง ลงลึกถึงขั้นเลือก Data เกี่ยวกับ Demographic, Geographic, Technography, Applications และ Interest & Behavior ได้ด้วย

วิธีการทำงานของ DSP นั้น ผู้ที่ต้องการซื้อโฆษณาก็เข้าสู่ DSP แล้วกำหนดตั้งค่า Campaigns เหมือนลงโฆษณาผ่าน Google Adword และ Facebook Ads เลย ตัว DSP ก็จะไปหา Inventory ตามที่ได้กำหนดไว้และราคาที่ได้ Bidding ไว้ด้วย ตามต้องการ

สำหรับถึงขั้นนี้ชาวไอทีเมามันส์อาจจะมองว่ายาก จริงๆถ้าไม่มีความรู้อะไรเลยก็จ้าง Agency ทำให้ก็ได้นะ เชื่อว่าแทบทุกรายที่เปิดให้บริการ Advertising Online ทำได้หมดแล้ว! สนใจก็ลองติดต่อใช้งานกันดูได้เลย ฝากไว้ให้ติดตามครับ ไว้เจอกันใหม่คลิปหน้าครับ

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เผยรายงานคนไทยเผชิญ SMS หลอกลวงมากสุดในเอเชียปี 2566 จาก Whoscall

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นสิ่งที่ไหลเวียนได้รวดเร็วที่สุด ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศก็เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างต่อเนื่อง Whoscall, แอปพลิเคชั่นชั้นนำที่ช่วยในการระบุตัวตนของสายเรียกเข้าไม่ที่รู้จักและการป้องกันข้อความสแปม, ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2566 ที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของ SMS หลอกลวงมากกว่าใครในเอเชียด้วยจำนวนถึง 58 ล้านข้อความ แม้ว่าในภูมิภาคเอเชียโดยรวมจะพบว่าการหลอกลวงมีแนวโน้มลดลงจากการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ในประเทศไทยกลับพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ การหลอกลวงเหล่านี้รวมถึงการส่งข้อความที่มีลิงก์ปลอม, การหลอกลวงเกี่ยวกับการลงทุนและเว็บพนัน และการใช้ชื่อของหน่วยงานรัฐในการหลอกลวง การรายงานจาก Whoscall ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการรับข้อมูล พวกเขายังได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ URL...
- Advertisement -

More Articles Like This