กินมาม่าทุกวันได้ไหม? เมื่อคุณอยากประหยัดเงินแต่รู้ว่าเสี่ยงต่อสุขภาพ

Must Read

Nunil
Nunil
แมวตัวหนึ่งอยากเป็นนักเขียน นิสัยเป็ดก็เลยมีความสนใจหลากหลายเป็นพิเศษ

ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ กิจการสินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่มักมีรายได้น้อยลง แต่มีสินค้าอาหารอย่างหนึ่งที่ได้กำไรมากขึ้นสวนกระแสเศรษฐกิจ นั่นคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั่นเอง ด้วยราคาที่ถูกและวิธีการทำที่ง่ายจึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งที่ทุกคนรู้ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีสารอาหารน้อยและโซเดียมสูง อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ แต่หากให้เลือกซื้ออาหารที่ประหยัดค่าใช้จ่ายหลายคนก็เลือกที่จะซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเสมอ บทความนี้จึงอยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องการบริโภคบะหมี่สำเร็จรูปให้มากขึ้นเพื่อที่ไม่ให้ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ร่างกายได้รับอะไรจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ้าง?

นอกจากโซเดียมที่เรารู้จักกันดีแล้ว มาม่า (ขอย่อชื่อเพื่อความคุ้นเคยของผู้อ่าน) ที่เราบริโภคยังมีคาร์โบไฮเดรตและไขมันซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลัก อาจมีเกลือแร่หรือโปรตีนจากเครื่องปรุงบ้างแต่ก็น้อยนิดเมื่อเทียบกับความต้องการสารอาหารของร่างกาย ถ้าดูจากปริมาณแคลอรี่ต่อหนึ่งซองแล้วคงไม่มีปัญหาเท่าไร แต่ถ้าเราดูจากปริมาณโซเดียมจะเห็นว่ามากเกินความต้องการของร่างกายอย่างชัดเจน ร่างกายคนเรารับโซเดียมได้สูงสุดไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบได้เป็นเกลือป่นปริมาณ 1 ช้อนชา ซึ่งมาม่าส่วนใหญ่มีปริมาณโซเดียมร้อยละ 50-100 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน หรือถ้าเป็นแบบซองใหญ่ก็จะมีถึงร้อยละ 112 เลยทีเดียว ในความเป็นจริงเราคงไม่ได้กินเฉพาะมาม่าตลอดทั้งวัน เราจึงได้รับโซเดียมจากอาหารทั่วไปในปริมาณหนึ่งอยู่แล้ว ดังนั้น ถ้าเรากินมาม่าทุกวันเราย่อมได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อไตที่มีหน้าที่ขับโซเดียม อาจเห็นได้ชัดจากอาการบวมน้ำ และในระยะยาวก็จะมีความเสี่ยงเป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

วิธีกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปให้มีความเสี่ยงน้อยลง

ถึงเราจะรู้ว่าการกินมาม่ามากเกินไปมีความเสี่ยง แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะจำเป็นเราจึงต้องมีวิธีกินที่ทำให้ความเสี่ยงนั้นลดลง ถ้าพอมีไข่ ผัก หรือเนื้อสัตว์ติดตู้เย็นอยู่บ้างแนะนำว่าให้นำมาใส่เพื่อเพิ่มสารอาหาร สำหรับปริมาณนั้นไม่ควรทานเกินวันละหนึ่งซอง แต่บางคนซองเดียวอาจจะไม่อยู่ท้องจริง ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรซดน้ำจนหมดเกลี้ยงเพื่อลดปริมาณโซเดียมที่เข้าสู่ร่างกาย ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เพื่อช่วยไตขับโซเดียมออกจากร่างกาย เพราะถึงไตของเรามีสองข้าง แต่ถ้าเสียหายไปข้างหนึ่งก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตได้ เราจึงควรถนอมสุขภาพของไตให้แข็งแรงไว้ดีที่สุด

หาทางเลือกอื่นในการประหยัดค่าใช้จ่าย

อาหารการกินเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น หากต้องตัดสินใจเลือกประหยัดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็ไม่ควรตัดค่าใช้จ่ายของอาหารที่มีประโยชน์อย่างเนื้อสัตว์หรือผักผลไม้ เราอาจจะเลือกประหยัดค่าน้ำค่าไฟหรือลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นแทน เพราะถ้าหากเราเลือกที่จะไม่ลงทุนกับการดูแลสุขภาพอย่างรอบคอบ เราอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพื่อรักษาอาการโรคภัยไข้เจ็บมากกว่าค่าบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เราเสียไปนั่นเอง 

 

Reference

piyawan-on, (2557), บะหมี่สำเร็จรูปกินอย่างไรให้ปลอดภัย, จาก สสส: https://www.thaihealth.or.th/Content/19536-บะหมี่สำเร็จรูปกินอย่างไรให้ปลอดภัย.html

สุกิจ รักษาสุข, (2562), มารู้จักโซเดียมกันเถอะ, จาก Siriraj Online: https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1365

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

ปรับตัวใหม่! ตลาดหุ้นโลกและผลการประชุมธนาคารกลางส่งสัญญาณอะไรบ้าง?

สัปดาห์นี้เราเห็นการเคลื่อนไหวใหญ่ในตลาดหุ้นทั่วโลก ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจสำคัญจากธนาคารกลางหลายแห่ง ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยไปจนถึงการอัปเดตเศรษฐกิจที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ให้สัญญาณว่าอาจจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ตามด้วยธนาคารกลางสวิสฯ ที่เริ่มต้นด้วยการลดดอกเบี้ยลง 0.25% เป็นการตอบสนองต่อเงินเฟ้อที่ลดลง ในอีกด้านของโลก, ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ก็ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ขณะที่ยังคงนโยบายการซื้อพันธบัตร เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในขณะนี้...
- Advertisement -

More Articles Like This