ใครฝันอยากมีรถยนต์ไฟฟ้าในปีหน้า อาจฝันสลาย เพราะเงื่อนไขที่ยากขึ้น

Must Read

สวัสดีคอยานยนต์ทุกคน วันนี้เรามีข่าวร้ายสำหรับหลายคนที่กำลังมองหารถ EV ซักคันในช่วงปลายปีนี้ ต้นปีหน้า (2567) มาแจ้งให้ทราบว่า คุณอาจต้องมีวันฝันสลาย โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ยังไม่ได้กำเงินสดเอาไว้ในมือสำหรับจะไปซื้อรถ EV หรือกลุ่มประเภทรอเงินโบนัสปลายปีออกมาเป็นเงินดาวน์ เพราะการปล่อยสินเชื่อสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจะยากขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งมันจะเป็นเพราะสาเหตุอะไรนั้น ใครอยากรู้ต้องตามมาอ่านกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เป็นดังนี้

  • ปถุชนคนกินเงินเดือนอย่างเราๆ ทั่วๆ ไปที่ “ฝันอยากได้รถ EV ซักคันในปีหน้า” จะยากขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเรื่องราวของมาตรการ “คุมเข้มหนี้ครัวเรือน” จากภาครัฐ โดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท.ที่มองแล้วอาจข้ามไปว่า “เกี่ยวอะไรกับรถ EV ก็ต้องลองฟังทางนี้ก่อน

  • เรื่องนี้มาเป็นการกระทบชิ่งต่อเนื่องมาถึงรถ EV จากการเปิดเผยของ นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย โดยมีสามมาตรการสำคัญ ซึ่งที่จะมีผลกระทบและเกี่ยวข้องกับธุรกิจยานยนต์ โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า คือ

  • มาตรการแรก “เรื่องการปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (responsible lending)” มาตรการนี้ แม้จะไม่ได้จำเพาะเจาะจงมาเฉพาะเรื่องของไฟแนนซ์ลิซซิ่ง แต่ก็แน่นอนว่าถ้าพูดกันถึงเรื่องของ “หนี้สินครัวเรือน” แล้ว “ผ่อนรถ” กับ “ผ่อนบ้าน” ย่อมเป็นหนี้ที่มาอันดับต้นๆ ของทุกครัวเรือน การออกมาตรการของ ธปท.ที่ขอให้ สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และต้องคำนึงถึงเรื่องหนี้ครัวเรือนเป็นตัวตั้ง ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2567 นั่นอาจเป็นฝันร้ายของคนที่กำลังอยากจะมีรถ โดยเฉพาะรถ EV ซักคันสำหรับปีหน้า 2567!!

  • การจะซื้อรถซักคันและขอสินเชื่อ ปกติโดยทั่วๆ ไปแม้ในทางปฏิบัติระหว่างการขอสินเชื่อรถสันดาปกับรถ EV จะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะในการพิจารณาสินเชื่อโดยสถาบันการเงินหรือลิซซิ่ง แต่เป็นที่รู้กันแบบพฤตินัยว่า การขอสินเชื่อรถ EV นั้นจะมีความยากมากกว่าในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ จากเหตุผลประการสำคัญคือพื้นฐานของราคา ซึ่งรถ EV จะสูงกว่ารถสันดาปทั่วๆ ไป ฉะนั้นการจะขอสินเชื่อก็จะต้องยากตามไปด้วย โดยเฉพาะการดูเครดิต และรายได้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งในทางปกติการขอสินเชื่อสำหรับซื้อรถ EV ก็ว่ายากอยู่แล้ว ยิ่งมาเจอมาตรการควบคุมจาก

  • โดยที่มาตรการ “คุมหนี้ครัวเรือนของธปท. ล่าสุดที่อาจจะมีผลต่อสินเชื่อทั้งระบบ โดยเฉพาะสินเชื่อรถยนต์ (ทั้ง EV และ รถสันดาป) แล้วถ้าโฟกัสลงมาตรงรถ EV และ สินเชื่อรถ EV ตรงๆ บวกเข้ากับ “การสิ้นสุดมาตรการหนุนจากภาครัฐเกี่ยวกับการซื้อรถ EV อย่างโครงการ EV3.5 ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะมีนโยบายอย่างไรเกี่ยวกับการสนับสนุนรถ EV ในอนาคตทั้งหมดนี้อาจจะมีผลให้การซื้อรถ EV ผ่านเงินผ่อนดูจะยากขึ้นไปอีก

  • เพราะทั้งราคา (เดิม) ที่มีมาตรการรัฐมาช่วยอุดหนุน ราคารถ EV เมื่อเทียบกับรถสันดาปแล้วก็ยังคงมีราคาสูงกว่า และหามาตรการอุดหนุนนี้หมดลง ราคาก็จะขยับออกไปในระดับหนึ่ง หรือแม้ว่าจะมีมาตรการจากภาครัฐเข้ามาช่วย แต่ไม่เท่าเดิมราคาก็อาจจำเป็นต้องขยับตัวตามต้นทุน

  • บวกกับมาตรการจาก ธปท.เกี่ยวกับการคุมสินเชื่อ บวกกับตลาดเงินที่ดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น บวกกับภาระค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นตามระบบเศรษฐกิจของครัวเรือน ทั้งหมดนี้อาจเป็นปัจจัยบีบให้การจะออกรถยนต์ โดยเฉพาะรถ EV ซักคัน ต้องใช้เงินดาวน์ที่สูงมากขึ้น หนักกว่านั้นตารางเงินผ่อนก็จะต้องปรับตัวขยับขึ้น และสุดท้ายการพิจารณาสินเชื่อให้กับผู้ซื้อก็จะยากขึ้นเป็นเงาตามตัว

  • สำหรับใครที่ฝันอยากจะมีรถ EV ซักคันในช่วงปลายปีหรือต่อเนื่องปี 2567 นี้แบบเงินผ่อนอาจต้องสำรวจความพร้อมในเรื่องของการขอสินเชื่อให้ดีๆ แนะนำว่า ให้ปรึกษาไฟแนนซ์ก่อนจะวางจอง และอาจต้องรอบคอบสำหรับการวางจองให้มากกว่าเดิม

 

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่แวดวงยานยนต์ที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคอยานยนต์และนักลงทุนทุกคน และเมื่อได้ทราบแล้ว ใครที่ยังฝันอยากมีรถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้ในปีหน้าก็คงต้องเตรียมความพร้อมกันอย่างรัดกุมได้แล้วในวันนี้

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This