ในหลวงทรงเป็นกษัตริย์แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ

Must Read

Jiradech Suchada
Jiradech Suchadahttps://www.itmoamun.com/
การตลาดออนไลน์ เทคโนโลยี ธุรกิจ Passive Income ทำตัวเป็น Blogger แถมกด Shutter รัวๆ แล้วออกไปปั่นๆ พร้อมทั้งเก็บเป็นเรื่องราวดีๆผ่านพื้นที่ตรงนี้ออกมาเป็นบทความ รูปภาพ วิดีโอ แบบเล่าสู่กันฟัง อย่าลืมมาติดตามกันนะครับ

วันนี้เป็นวันที่แสนเศร้าต่อจากเมื่อวานที่เราได้สูญเสียพ่อหลวงของเราไปอย่างไม่มีวันกลับมา แต่พระองค์ยังคงอยู่ในใจผมและเชื่อว่ายังคงอยู่ในใจของเราชาวไทย และชาวไอทีเมามันส์ทุกคน ผมเลยอยากนำเสนอมุมมองด้านพระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นการเล่าเรื่องราวของพระองค์ท่านให้เป็นที่ระลึกถึงกันตลอดไป..

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ ที่สนพระทัย ใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง ลึกซึ้งในการค้นคว้า วิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้าน เทคโนโลยี สารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุน การค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ และทรงนำเทคโนโลยี สารสนเทศ มาใช้ในโครงการพัฒนา ซึ่งสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงนำหลักการ และแนวทางเหล่านี้ มาใช้เป็นพื้นฐานสำคัญ ในการดำเนินโครงการ เทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ

ในหลวงกับคอมพิวเตอร์

  • ทรงคิดค้น สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆด้วยพระองค์เอง เช่น ทรงแก้โปรแกรมภาษาไทย CU WRITER ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ * ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผล บนจอภาพ คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ เช่น แบบจิตรลดา แบบภูพิงค์ ฯลฯ ท ทรงศึกษาการใช้คอมพิวเตอร์แสดงตัว เทวนาครี หรือภาษา แขกบนจอภาพ โดยทรงเริ่มศึกษาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2530
  • ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจและบทพระราชนิพนธ์ต่างๆ
  • ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่างๆ ท ทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ ผ่านสื่อมวลชนเพื่ออวยพรปวงชนชาวไทย
  • ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานส่วนพระองค์ทางด้านดนตรี โดยทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการป้อนโน้ตเพลงและเนื้อร้อง
  • ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 1,472,900 บาท ให้มหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการ พัฒนาระบบ คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถา โดยได้ทรงศึกษา พระไตรปิฎก และอรรถกถา ฉบับคอมพิวเตอร์นี้ ด้วยพระองค์เอง และมีพระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ ในการออกแบบโปรแกรม สำหรับใช้ ในการสืบค้นข้อมูล ขณะนี้ได้พัฒนาแล้วเสร็จแล้วในชื่อ BUDSIR IV ซึ่งมีข้อมูลประมาณ 450 ล้านตัวอักษร ปัจจุบัน สำนักคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มโครงการพัฒนาโปรแกรมพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ ฉบับภาษาไทย เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ทั่วโลกได้ศึกษา อันจะเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้งานโปรแกรมนี้ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น

เท่าที่ทราบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยเรื่องข้อมูลและการทำ filing ข้อมูลต่าง ๆ ทรงรวบรวม และจัดระบบ filing ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่โดยไม่จำเป็นต้องใส่คอมพิวเตอร์ ทรงเก็บเป็นแฟ้ม เป็นหมวดหมู่ ทรงทำมานานแล้ว ทรงเล่าว่า ที่คุณขวัญแก้ว ทำถวายตอนหลังนี่ ทรงเป็นคนสอนให้ทำ หากใครไปสนทนากับคุณขวัญแก้ว เรื่องพระราชกรณียกิจ ในช่วงระยะแรก ที่เสด็จ ขึ้นครองราชย์ ก็จะพบว่าคุณขวัญแก้วจัดเก็บและทำ filing ข้อมูลพระราชกรณียกิจไว้อย่างดี มีเรื่อง การสาธารณสุข การสื่อสาร กับประชาชนทางวิทยุ การเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาและยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2503 เป็นต้น หรือเรื่อง ถ่ายภาพต่าง ๆ ในส่วนช่างภาพ ส่วนพระองค์ ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ที่มีการ เขียนเบอร์เรียงลำดับ กันมาให้ค้นได้ง่าย ก็เป็นระบบที่ทรงตั้งเอาไว้ หรืออย่างเรื่อง การทำแผนที่ก็ไม่ได้ทรงทำเป็น digital mapping อย่างที่เดี๋ยวนี้นิยมทำกัน เท่าที่ทราบทรงใช้วิธีเสด็จไปที่สถานที่นั้น ๆ ได้สัมผัส ได้เห็น ก็บันทึกไว้ในความทรงจำของท่าน เวลาทรงขับรถไปถึงสะพาน มองดูลำธาร ทรงชะโงกดู เห็นน้ำไหลจากทางไหน ไปทางไหนก็ทราบความสูงต่ำของพื้นที่ ก็ทรงเอาข้อมูลมาบันทึก สร้างในสมอง แบบที่เราสร้างในคอมพิวเตอร์ เป็น digital terrain model หรือเป็นภาพแผนที่ออกมา แล้วทรงบอก model ที่อยู่ในสมองนี้ให้คนอื่นทำในรายละเอียดต่อไปได้

จากปาฐกถา ” เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ” 2 มิถุนายน 2538 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ: NECTEC หน้า 5

ท่านเป็นคนอย่างที่สมัยก่อนเรียกว่าเป็นคนทำ filing ละเอียดลออ ท่านมีระเบียบ มีวินัย มาถึงลูก ๆ นี่แย่ สมัยก่อนตอนเล็กๆ ทำเลขตั้งแถวบวกลบต้องตรงกันเป๊ะ ท่องสูตรคูณ ท่านก็ไล่จากข้างล่างไปบน กลับถอยหลังช่วงตรงกลาง สมัยเด็ก ๆ แค่นี้ก็หนัก แล้วนับเลขที่ต้องตรงเป๊ะเขียนก็ต้องเรียบร้อย ต้องเป็นรูปเป็นร่างเป็นตัว ท่านเข้มงวด อย่างที่คุณแล้ว คุณขวัญทำเรื่อง filing รูปถ่ายต่าง ๆ นั้น ท่านก็เป็นคนสอน ตอนหลังนี่ท่านก็บ่นว่ามีคนมาหยิบโน่นหยิบนี่ไปจนเละ ของที่หยิบไม่ได้อย่างรูปถ่าย ต้องเอามาเรียงเป็นเบอร์ จัดแฟ้ม จัดอัลบั้ม ท่านสอนทั้งนั้น สอนให้คุณแก้ว คุณขวัญทำ เขียน film เบอร์อะไร การเรียง ทำอย่างไร สมัยนี้มันกลายเป็นเรื่องของ database ไป สมัยก่อนเป็นเรื่องของ filing ไม่ว่าเรื่องอะไร เก็บข้าวเก็บของ ท่านทำเป็นระบบ อันนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่องของฐานข้อมูล อย่างสมัย telex เป็นปรุ ๆ เป็นม้วน ๆ ท่านก็เก็บวางไว้เป็นม้วน ๆ ให้เรียบร้อยกระดาษต่าง ๆ ก็จัดเรียงของท่านไว้เป็นแฟ้ม ๆ อย่างเป็นระเบียบ

จาก “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนทนาเรื่อง พระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว กับเทคโนโลยีสารสนเทศ” วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา หน้า 24-25

ดร.ไพรัช : แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคอมพิวเตอร์หรือเปล่าพ่ะย่ะค่ะ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ : ทรง เวลานี้ก็ทรงอยู่ทุกวันเลย อย่างเขียนโน้ตดนตรีนี่ไม่ได้ใช้โปรแกรมดนตรีนะ เขียนขึ้นมาเอง ใช้โปรแกรมธรรมดา คือของโบราณนั่นเอง เสร็จแล้วก็มาเขียน โดยที่ไม่ได้ใช้โปรแกรมดนตรีสำเร็จรูปมาเขียนโน้ตเหมือนคนอื่น นั่งเขียนเอง เวลานี้ คนทำงานถวายในเรื่องนี้คือคุณดิสธร ลูกชายคุณขวัญแก้ว อย่างตอนนี้เวลาเขียนเรื่องต่างๆ ท่านก็ใช้เครื่องพิมพ์ทั้งนั้น แต่ก่อนที่ท่านจะเขียน จะแต่งเรื่องเล่นๆ คือเป็นการทดลอง ยุคแรกๆนั้น ยังไม่ค่อยมีเรื่องเสียง ท่านก็ทำให้พูด สวัสดีครับ อะไรต่อมิอะไรตั้ง 10 กว่าปี นานแล้ว อีกอย่างที่ทำก็คือ วาดเป็นรูปต่างๆใช้วาดภาพ ท่านไม่ได้ใช้โปรแกรมอะไรใหม่ๆ ทำอย่างไรก็ไม่รู้ ใช้ของโบราณนี่แหล่ะ แล้วเอามาทำเอง อย่างที่ทรงเขียนเรื่องพระมหาชนกนี่ ท่านวาดได้ภาพพระมหาชนกว่ายน้ำ แล้วมีนางมณีเมขลาเหาะมา (ทรงพระสรวล) อะไรนี่ วาดได้แล้วก็วาด วาดแผนที่ ก็ไม่ได้ใช้โปรแกรมแผนที่อะไรเขียน วาดเป็นแผนที่อินเดีย แล้วท่านก็กะเอาว่าในชาดกพูดไว้อย่างนี้ ในสมัยใหม่นี้ plot ว่า มันควรจะอยู่ตรงไหน ว่ายน้ำจากตรงไหนไปถึงไหน คนโน้นคนนี้ในเรื่องเดินทางจากไหนไปที่ไหน ขีดในแผนที่สมัยใหม่ว่า มันจะอยู่ในที่ไหน แล้วท่านก็เอาแผนที่อุตุนิยมมา แล้วก็เอามาสันนิษฐานว่า อากาศในวันนั้น ควรจะเป็นอย่างไร เทียบกับตอนนั้น ที่มีพายุพัดชาวประมงไปขึ้นบังกลาเทศ ท่านบอกว่าลักษณะต้องอย่างนั้น ตอนที่ดูพระอาทิตย์ พระจันทร์ต่างๆ position มันคล้ายกันตรงไหน อะไรต่างๆ ท่านก็เอามาเทียบจากเรื่องชาดก มาเป็นเรื่องสมัยใหม่ ท่านก็ใช้ลงในเครื่องพวกนี้ อย่างที่ทรงเพลงใหม่ ก็เห็นพิมพ์ในนั้น ดูเหมือนจะมี Word processor แต่ว่าใช้เขียน อย่างเขียนโน้ตเพลงรัก เพลงเมนูไข่ ที่เขียนใหม่ ก็ใช้เครื่องนั้น หรือพิมพ์หนังสืออะไร จะมีเรื่องมีราวอะไร ท่านก็ใช้พิมพ์ พิมพ์เองทั้งนั้น ไม่ต้องอาศัยเสมียนที่ไหน แล้วก็เขียนเรื่องต่างๆ อย่างพระราชดำรัสตอนวันที่ 4 ธันวา ที่คนมาเฝ้าฯ พอเสร็จแล้ว ท่านก็แปลเป็นภาษาอังกฤษ ท่านแปลของท่านเอง แล้วพิมพ์ลงในนั้น พิมพ์ไว้ เวลานี้ท่านแต่ง auto-biography อยู่ แต่งถึงไหนก็ไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่เคยเห็นของท่านเลย ท่านเขียนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

จาก “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนทนาเรื่อง พระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับเทคโนโลยีสารสนเทศ” วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา หน้า 19-21 คัดลอกจากหนังสือ ” ดุจดวงตะวัน” พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ด้านการศึกษา

ในประเทศไทยนี้ถ้าดูจากสถิติก็มีพลเมืองเพิ่มขึ้นทุกๆ วัน จึงสันนิษฐานได้ว่าพลเมืองของประเทศไทยนี้อยู่ในวัยเรียนอยู่เป็นส่วนมากทุกๆ ปี การที่ส่วนรวมคือ ประชาชนทั้งประเทศเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาเป็นสิ่งที่ดีแล้ว จึงต้องช่วยกันจัดการให้เยาวชน ให้ประชาชนที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้ได้มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี เราจะไปอาศัยรัฐบาลหรืออาศัยทางราชการที่จะช่วยให้บ้านเมืองมีความเจริญด้านเดียวไม่ได้เพราะว่าในสมัยนี้ถือว่าเป็นสมัยประชาธิปไตยทุกคนมีส่วนในงานของประเทศชาติ… ” (พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ ขาดแคลนในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2512) ดังพระบรมราโววาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษากับประชาชนทุกช่วงวัย แต่ทรงเน้นหนักที่เยาวชน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ซึ่งแบ่งหลักการทำคำอธิบายเรื่องต่างๆ แต่ละเรื่องเป็นสามระดับคือ

  • ระดับเด็กเล็กอ่าน
  • ระดับเด็กรุ่นกลางอ่าน
  • ระดับเด็กรุ่นใหญ่รวมถึงผู้ใหญ่อ่าน

ในปัจจุบันได้มีการจัดพิมพ์สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวม 29 เล่ม

ในด้านทุนการศึกษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งกองทุนการศึกษาขึ้นตั้งแต่ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพราะพระองค์ทรางทราบดีว่าเด็กไทยมีความสามารถในการเรียน แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ดังพระราชดำรัสแก่สมาชิกสโมสรไลออนส์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2513 ว่า “… การให้การศึกษาแก่คนนี้เป็นปัญหาของคนทุกคน ไม่ใช่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย ระหว่างผู้ที่มีความรู้ ผู้ที่มีเจตนาดีต่อสังคม และผู้มีทุนทรัพย์… ”

ดังนั้น พระองค์ทรงตั้งกองทุนพระราชทานให้แก่เยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียน ซึ่งแต่ละทุนมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ทุนมูลนิธิ “ ภูมิพล ” ก่อเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 100 , 000 บาท ให้แก่มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ เพื่อพระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ผู้เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ ต่อมาได้พระราชทานทุนขยายไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ และได้ตราระเบียบลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2511 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
  • ทุนประเภทช่วยเหลือการศึกษา
  • ทุนประเภทช่วยเหลือการทำปริญญานิพนธ์หรือการวิจัย
  • ทุนมูลนิธิ “ อานันทมหิดล ” ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498 โดยพระราชทานทุนนี้แก่นักศึกษาแพทย์ตามรอยพระบาทสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เพื่อให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเมื่อสำเร็จแล้วให้มาทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เรียนมา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดทะเบียนตราสารทุนอานันทมหิดล เป็น “ มูลนิธิอานันทมหิดล ” เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2502

ปัจจุบันมูลนิธิ “ อานันทมหิดล ” ได้พระราชทานทุนแก่นักศึกษาสาขาต่างๆ คือ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ วารสารศาสตร์ และอักษรศาสตร์

  • ทุนเล่าเรียนหลวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ริเริ่มพระราชทาน “ ทุนเล่าเรียนหลวง ” (King’s Scholarship) ให้นักเรียนไปเรียต่อต่างประเทศต่อเนื่องกันมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองาจึงยุติไปใน พ.ศ. 2476 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชประสงค์ให้ฟื้นฟูทุนนี้ขึ้น โดยพระราชทานแก่นักเรียนที่สอบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการได้คะแนนดีเยี่ยมปีละ 9 ทุน คือ แผนกศิลปะ 3 ทุน แผนกวิทยาศาสตร์ 3 ทุน และแผนกทั่วไป 3 ทุน
  • ทุนการศึกษาสังเคราะห์ในมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ก่อตั้ง “ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ” เพื่อสงเคราะห์เด็กที่ครอบครัวประสบวาตภัยภาคใต้ และขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู รวมทั้งช่วยเหลือราษฏรผู้ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ
  • ทุนมูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิโรงเรียนราชประชาสมาสัย ใน พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อสร้างสถาบันวิจัยค้นคว้าเรื่องโรคเรื้อน ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากว่าขณะนั้นโรคเรื้อนได้ระบาดในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกพยายามกำจัดโรคเรื้อนให้หมดไปภายใน 10 ปี แต่ต้องมีสถาบันค้นคว้าและวิจัย ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานเงินทุนในการก่อตั้งสถาบัน และเสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีเปิดสถาบันเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2503 พระราชทานนามว่า “ ราชประชาสมาสัย ” ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้ทรงรับมูลนิธินี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีข้อแม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะต้องจัดตั้งโรงเรียนสำหรับบุตรของผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อน ซึ่งแยกจากบิดามารดาตั้งแต่แรกเกิดดังพระบรมราโชวาทที่พระราชทานถึงการก่อตั้งโรงเรียน และพระราชดำรัสในพิธีเปิดโรงเรียนราชประชาสมาสัย เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2507
  • ทุนนวฤกษ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาริเริ่มก่อตั้ง “ ทุนนวฤกษ์ ” เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์แต่มีผลการเรียนดี ความประพฤติเรียบร้อย ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อในระดับต่างๆ รวมทั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และสมทบจากผู้บริจาคทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศล ก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เพื่อสังเคราะห์เด็กยากจนและเด็กกำพร้าให้มีสถานศึกษาเล่าเรียน
  • ทุนการศึกษาพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะกรณี
  • ทุนพระราชทานแก่นักเรียนชาวเขา
  • ทุนพระราชทานแก่นักเรียนเฉพาะสถานศึกษา
  • รางวัลพระราชทานแก่นักเรียนและโรงเรียนดีเด่น

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยศึกษาหลายด้าน อาทิ วิทยาศาสตร์ การเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วพระองค์ทรงสนพระทัยงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นอกเหนือจากพระอัจฉริยภาพด้านอื่นๆ แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงสนพระราชหฤทัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอีกด้วย พระองค์ทรงประดิษฐ์และสร้างสรรค์งานต่างๆ มากมายเนื่องจากตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฏรเป็นประจำ เมื่อพระองค์พบเจอปัญหาที่ราษฎรประสบพระองค์ก็ทรงศึกษาและประดิษฐ์เครื่อง

  1. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ลักษณะของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในระยะแรกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
    1. โครงการลักษณะที่พระองค์ทรงทำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เป็นการส่วนพระองค์ และนำผลสรุปพระราชทานเผยแพร่แก่เกษตรกร
    2. โครงที่พระองค์ทรงเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาหลักของเกษตรกร ระยะแรกโครงการยังจำกัดอยู่ในพื้นที่รอบๆ ที่ประทับในส่วนภูมิภาค ต่อมาเริ่มขยายตัวสู่สังคมเกษตรในพื้นที่ต่างๆโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมีอยู่มากมายหลายสาขา หลายประเภท ในระยะแรกมีชื่อ เรียกแตกต่างกันไปดังนี้คือ
    3. โครงการตามพระราชประสงค์
    4. โครงการหลวง
    5. โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์
    6. โครงการตามพระราชดำริ
  2. มูลนิธิชัยพัฒนาความเป็นมา เป็นที่ประจักษ์แจ้งชัดในความรู้สึก และสำนึกของประชาชนชาวไทยทุกถ้วนหน้าว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งดวงใจและความจงรักภักดีอันยิ่งใหญ่ของพสกนิกรชาวไทยทั้งชาติ ด้วยเหตุที่ได้ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญา เวลา และพระราชทรัพย์ ตลอดจนได้อุทิศพระองค์ในการทรงงาน และประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชนผู้ยากไร้ตลอดมา เป็นระยะเวลาที่ยาวนานและต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าบังเกิดความร่มเย็น มีความอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศชาติเป็นส่วนรวมอย่างไรก็ตาม เนื่องจากการดำเนินงานพัฒนาช่วยเหลือประชาชนตามระบบราชการนั้นบางครั้งบางโอกาสจำเป็นต้องดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการกำหนดไว้ตามขั้นตอนต่างๆ ทำให้โครงการบางโครงการอาจถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขบางประการ เช่น กฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณ ฯลฯ จนเป็นเหตุให้การดำเนินงานนั้นๆ ไม่สอดคล้องหรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำการโดยเร็ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้จัดตั้ง “ มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนในรูปของการดำเนินการพัฒนาในด้านต่างๆ ในกรณีที่การดำเนินการนั้นๆ ถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หรือดำเนินงานในลักษณะอื่นใดที่จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็ว และไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในเรื่องเงื่อนไขของเวลา

    กระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครได้รับจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาให้เป็นนิติบุคคลตามเลขทะเบียนลำดับที่ 3975 ตั้งแต่ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2531 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 105 ตอนที่ 109 วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

ข้อมูลที่นำมาเป็นการคัดลอกมาจากแหล่งที่มาหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

 

อ้างอิงบทความจาก

  • กษัตริย์แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ จาก t5surat.ac.th
  • พระอัจฉริยภาพด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จาก thaihealth

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

เปิดประสบการณ์ถ่ายภาพสุดเจ๋งกับ vivo V30 Pro 5G ในงาน “เปล่งประกายด้วยพอร์ตเทรต”

พบกับการก้าวข้ามขีดจำกัดใหม่ของการถ่ายภาพพอร์ตเทรตกับสมาร์ตโฟน vivo V30 Pro 5G ที่จะมาปฏิวัติวงการถ่ายภาพบนมือถือในงาน "vivo V30 Pro 5G PRO LAB" ณ Sphere Gallery, ศูนย์การค้า EMSPHERE ตั้งแต่วันที่ 15...
- Advertisement -

More Articles Like This