ไขข้อสงสัย ทำไมกังหันลมผลิตกำลังไฟฟ้านอกชายฝั่งจึงต้องมีขนาดใหญ่โตเท่าตึกระฟ้า

Must Read

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว ไอทีเมามันส์ ทุกคน พบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทเรื่องราวที่น่าสนใจในแวดวงพลังงาน สำหรับครั้งนี้เราจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยว่าทำไมกังหันลมนอกชายฝั่งถึงมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  คำตอบจะเป็นอย่างไร มาติดตามกันเล้ยย

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับกังหันลมนอกชายฝั่ง สรุปได้ดังนี้

  • ปัจจุบันประสิทธิภาพของกังหันลมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2019 กังหันลมสามารถผลิตไฟฟ้าได้โดยเฉลี่ย 8 เมกะวัตต์ ซึ่งมากกว่าปี 2018 อยู่ 1 เมกะวัตต์
  • หนึ่งปัจจัยสำคัญคือขนาดของกังหันลม เพราะการผลิตพลังงานได้มากขึ้นแปรผันตรงกับความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางตัวแกนหมุนที่เพิ่มขึ้น พร้อมด้วยตัวใบพัดที่ยาวขึ้น และเพิ่มการเคลื่อนที่ของอากาศได้มากขึ้นอีกเช่นกัน
  • อีกปัจจัยหนึ่งคือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น เนื่องจากมีชิ้นส่วนน้อยลง ซึ่งทำให้มีต้นทุนการบำรุงที่ต่ำลงด้วย
  • ตัวอย่างบริษัท Siemens Gamesa และ GE ก็ได้มีการใช้กังหันลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางแกนหมุนยาว 220 เมตรแล้ว โดยสามารถผลิตไฟฟ้าได้กว่า 12-14 เมกะวัตต์
  • อีกทั้งลมทะเลนอกชายฝั่งยังมีศักยภาพมากพอทั้งเรื่องความเร็วและความต่อเนื่องของการพัดพาที่สม่ำเสมอ จึงทำให้การออกแบบกังหันผลิตไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่โตเป็นเรื่องที่เหมาะสมยิ่ง ซึ่งทำไม่ค่อยจะได้กับกระแสลมบนฝั่งซึ่งมีศักยภาพต่ำกว่ามาก
  • นอกจากนี้ Jan Claes ผู้จัดการโครงการอาวุโสแห่ง Siemens Gamesa ได้กล่าวไว้ว่า “เราต้องพึ่งพาพลังงานสะอาดมากขึ้นทุกวัน ยิ่งสร้างกังหันลมให้ใหญ่ขึ้น ก็จะมีพื้นผิวของใบพัดกังหันลมมากขึ้น เราก็จะสามารถผลิตพลังงานได้มากขึ้น”

และนี่ก็คือข้อมูลสำคัญที่ทำให้เราได้ทราบคำตอบแล้วว่าทำไมกังหันลมนอกชายฝั่งถึงต้องมีขนาดใหญ่ สรุปง่ายๆ ก็เพราะว่าลมมันแรงดี และต่อเนื่อง การใช้ใบกังหันใหญ่เพื่อรีดกำลังจากลมได้เต็มประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสม นั่นเอง

ที่มา

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This