เพื่อนๆชาวไอทีเมามันส์หลายคนอาจจะสงสัยใช่ไหมว่าเจ้า HDR มีไว้ทำไม กล้องในมือถือก็มีนะเจ้า HDR เนี้ย.. เอาจริงๆแล้วก็ไม่มีใครกำหนดเป็นมาตรฐาน โดยคำว่า HDR เองนั้นก็เป็นคำที่กว้าง และเอาไปใช้ในหลายงาน ด้วยความหมายที่คล้ายๆกัน แต่จะแตกต่างกันออกไปในรายละเอียดดังนี้
คำว่า HDR ย่อมากจาก high dynamic range
ถ้าเป็น image sensor ก็จะหมายถึงสัดส่วนระดับความสว่างสูงสุด ต่อระดับความสว่างต่ำสุดที่ image sensor สามารถบันทึกได้ ในยุคแรก image sensor จะมี DR อยู่แถวๆ 7-8 stop ปัจจุบันจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 12-14 stop ไปจนถึง 16 stop
จึงแยกประเภทอย่างคร่าวๆ ว่า image sensor ที่อยู่แถวๆ 12-14 stop ขึ้นไปจึงจะถือว่าเป็น HDR และนั่นก็เป็นการกำหนดทางอ้อมว่าฟิล์มเนกาทีฟทุกตัวเป็น HDR เนื่องจากมี DR อยู่ราวๆ 14+ stop ด้วยเช่นกัน (บางสำนักจะแยก DR กับ latitude ของฟิล์มออกจากกัน โดยนิยาม Latitude การบันทึกภาพของ ฟิล์มว่า เป็นความสามารถของฟิล์มที่ +/- ออกไปจากตรงกลางได้ไกลแค่ไหน แล้วฟิล์มยังสามารถทำงานได้ คือถ่ายภาพได้ ล้างออกมาแล้วยังได้ดีเทลครบไม่รู้สึกว่ามีอะไรผิดปรกติ)
ถ้าเป็นไฟล์ภาพ HDR จะหมายถึงไฟล์ภาพที่มีคุณลักษณะพิเศษ คือใช้ข้อมูลแบบ 16 bit half-float ที่เก็บระดับความสว่างได้ 30-40 stop เมื่อเทียบกับ ข้อมูลแบบ 8 bit integer แบบเดิม ที่เก็บได้ราวๆ 7-10 stop
การวัด stop กรณีนี้จะวัดใน linear scale คือมีค่า gamma เท่ากับ 1.0 เท่านั้น เพราะถ้าระดับความสว่างไม่เป็น linear ไฟล์ jpg 8 bit ก็สามารถเป็น HDR ได้ (เช่นภาพ jpg 8 bit ที่ได้จากเทคนิคพิเศษด้านภาพที่เรียกว่า HDR Photography)
ตัวอย่างไฟล์ที่เป็น HDR ก็คือไฟล์ OpenEXR (*.exr) ที่ออกแบบมาไว้สำหรับเก็บข้อมูลระดับความสว่างจาก image sensor ที่เป็น HDR ซึ่งอาจจะเป็น single exposure จาก image sensor ที่มี DR สูงมาก หรืออาจจะเป็น double exposure (มืด-สว่าง) จาก image sensor ที่มี DR ไม่ค่อยสูงก็ได้
ความหมายสุดท้ายคือ HDR Photography ที่เป็น special effect รูปแบบหนึ่ง ใช้การถ่าย multiple exposure รัวๆ หลายภาพ ตั้งแต่มืดสุดไปสว่างสุด เพื่อเอามาเป็น source สำหรับการโปรเซสภาพในภายหลัง
ถ้า image sensor มี DR ที่สูงพอ เราก็สามารถทำภาพสไตล์ HDR Photography ได้ ด้วยการถ่ายภาพเพียงครั้งเดียวหรือ single exposure มีข้อดีคือใช้กับการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนไหวได้ แต่จะมีข้อเสียคือ image texture จะไม่สม่ำเสมอ เนื่องจาก SNR ในแต่ละส่วนของภาพจะไม่เท่ากัน อันเนื่องมาจากการดึงสว่างหรือกดมืดจากภาพเพียงภาพเดียว
Source : เทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์