โครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาแบบใหม่ที่เพิ่งอนุมัติมาสดๆร้อนๆครับพี่น้องชาวไอทีเมามันส์ ใครเงินเดือนในเกณฑ์นี้ก็เฮกันเลยดังว่าต้องจ่ายภาษีแล้ว โดยที่ประชุม ครม. มีมติปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้ 1 แสนบาท เงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
สำหรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีใหม่ จะเริ่มตั้งแต่รายได้ไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ส่วนคนมีเงินได้ ตั้งแต่ผู้มีเงินได้ 150,001-300,000 บาท เสียภาษี 5% ผู้มีเงินได้ตั้งแต่ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10% ผู้มีเงินได้ตั้งแต่ 500,001-750,000 บาทเสียภาษี 15% ผู้มีเงินได้ตั้งแต่ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20% และผู้มีเงินได้ 1,000,001-2,000,000 บาท เสียภาษี 25% ผู้มีเงินได้ 2-5 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 30% ผู้มีรายได้ 5 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษีในอัตรา 35%
และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี 60 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ปีละ 32,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน ยืนยันว่ายังไม่จำเป็นที่จะต้องขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากปัจจุบันอยู่ที่ 7% เนื่องจากขณะนี้งบประมาณยังเพียงพอ รวมถึงต้องดูการใช้จ่ายของประชาชนด้วย ส่วนในอนาคตหากเศรษฐกิจฟื้น หากมีความจำเป็นต้องขึ้นแวต จะต้องพิจารณาอีกครั้ง
รายละเอียดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
- ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า ฯลฯ อันเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร จากเดิมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาท เป็นร้อยละ 50 ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (3) แห่งประมวลรัษฎากรจากเดิมให้หักได้เฉพาะค่าแห่งลิขสิทธิ์โดยให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ขยายเพิ่มให้ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น สามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าว แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้
- ปรับปรุงการหักค่าลดหย่อน ดังนี้
- ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ จากเดิม 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตรจากเดิมคนละ 15,000 บาท และจำกัดจำนวนไม่เกิน 3 คน เป็นคนละ 30,000 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตร (จากเดิมที่ให้หักลดหย่อน 2,000 บาท/คน)
- ในกรณีที่คู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
- กองมรดกเดิมให้หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท เป็น 60,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล เดิมให้หักลดหย่อนแก่หุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็นคนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท
- ปรับปรุงขั้นเงินได้ และบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน บัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีการปรับปรุง เงินได้สุทธิ อัตราภาษี (ร้อยละ) เงินได้สุทธิ อัตราภาษี (ร้อยละ)
* ทั้งนี้ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกยังคงสามารถใช้ต่อไปตามพระราช กฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 - ปรับปรุงเกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี ดังนี้
- กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว
– หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 50,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 100,000 บาท
– หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 100,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน200,000 บาท - กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือกรณีมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน
– หากผู้มีเงินได้เป็นโสด จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
– หากผู้มีเงินได้มีคู่สมรส จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้รวมกันเกิน 60,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้รวมกันเกิน 120,000 บาท - กรณีกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาทเป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
- กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมต้องยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้เกิน 30,000 บาท เป็นต้องมีเงินได้เกิน 60,000 บาท
- กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว
- การปรับปรุงดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2560 เป็นต้นไป การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีความเหมาะสมเป็นธรรม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพในปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาภาระภาษีแก่ผู้มีเงินได้โดยผู้เสียภาษีที่มีเฉพาะเงินได้ประเภทเงินเดือนและหักลดหย่อนส่วนตัวโดยไม่ใช้สิทธิลดหย่อนรายการอื่น จะเริ่มเสียภาษีเมื่อมีเงินได้ 26,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้ฯกระทบรายได้รัฐลดลงปีละ 32,000 ล้านบาท แต่หวังเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มขึ้น จากปัจจุบัน ภาษีบุคคลธรรมดาคิดเป็น 17% ภาษีนิติบุคคล 32% ภาษีมูลค่าเพิ่ม 41% ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3% ภาษีธุรกิจปิโตรเลียม 5% ฯลฯ
รายละเอียดยิบย่อยน่าดูเอาเป็นว่าใครที่อยู่ในเกณฑ์ก็คงต้องศึกษารายละเอียดกันนะครับผลประโยชน์เราทั้งนั้นครับ..
Reference
- ครม.ไฟเขียวปรับโครงสร้าง “ภาษีบุคคลลดหย่อน1แสน” at dailynews
- ครม. ไฟเขียวปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา at bangkokbiznews