นักวิจัยได้พัฒนาอุปกรณ์กลไกแบบอ่อนที่ขยายและยืดหดได้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

Must Read

คนที่ชื่นชอบเทคโนโลยีด้านการแพทย์ต้องมารวมกันทางนี้ เพราะครั้งนี้เรามีข่าวที่น่าตื่นเต้นมาแจ้งให้ทราบว่า ล่าสุดนักวิจัยได้พัฒนาอุปกรณ์กลไกแบบอ่อน (soft robotic device) ที่ขยายและยืดหดได้ใช้สำหรับการจ่ายอินซูลินสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานได้สำเร็จแล้ว รายละเอียดจะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • สำหรับเทคโนโลยีการแพทย์ เช่นการปลูกถ่ายอวัยวะ มีการนำอุปกรณ์อวัยวะเทียมรักษาโรคมาใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานมานานแล้ว แต่อาจเกิดเนื้อเยื่อแผลเป็น หรือพังผืดขึ้นในบริเวณที่มีการผ่าตัด ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมที่สร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยมาเป็นเวลานาน
  • ทำให้เหล่าบรรดาวิศวกรและผู้ช่วยจากสถาบันเอ็มไอที (Massachusette Institute of Technology-MIT) นำโดยเอลเลน โรช (Ellen Roche) ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลและสมาชิกสถาบันวิศวกรรมการแพทย์และวิทยาศาสตร์ของเอ็มไอที ร่วมศึกษากับไอเมียร์ โดลัน (Eimear Dolan) และ ศ. แกร์รี ดัฟฟี (Garry Duffy) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติไอร์แลนด์ เพื่อเริ่มพัฒนาอุปกรณ์กลไกแบบอ่อน (soft robotic device) ที่ขยายและยืดหดได้ใช้สำหรับการจ่ายอินซูลิน โดยมีแนวคิดว่า อุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถป้องกันพังผืดแผลเป็นที่เกิดจากอุปกรณ์ฝังที่ปล่อยอินซูลินสู่ร่างกาย
  • โดยนักวิจัยจะสูบลมและปล่อยลมอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นเวลา 5 นาที ทุก ๆ 12 ชั่วโมง ซึ่งนอกจากการปรับขยายขนาดแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ภูมิคุ้มกันมาสะสมตัวใกล้กับจุดที่อุปกรณ์ฝังอยู่ และในการทดสอบกับสัตว์ทดลอง เช่นหนู ผลปรากฏว่า เมื่อมีการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ร่วมกับกลไกการจ่ายยา อุปกรณ์จะทำงานได้นานกว่าการฝังอุปกรณ์จ่ายยาแบบปกติ โดยขณะนี้กำลังมีการวิจัยเพิ่มเติมว่า อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น จะสามารถใช้เป็นตับอ่อนเทียมเพื่อช่วยรักษาโรคเบาหวานได้หรือไม่
  • โรชกล่าวว่า พวกเขาทดลองสร้างอุปกรณ์นี้ขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน และยืดอายุของอุปกรณ์จ่ายยาอินซูลินที่ฝังไว้ในร่างกายผู้ป่วย และยังสามารถพัฒนาอุปกรณ์เช่นนี้ให้ถูกใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้นกว่านี้ในอนาคต
  • ขณะที่ก่อนหน้านี้ มีตัวอย่างอุปกรณ์ที่สามารถนำมาปลูกถ่ายเป็นอวัยวะได้จริง ๆ คือไตเทียม โดยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เทรสเทิล ไบโอเทราพิวติคส์ (Trestle Biotherapeutics) ได้นำกระบวนการพิมพ์ชีวภาพสามมิติมาใช้ในการสร้าง “ไต” ที่มีศักยภาพในการทำงานใกล้เคียงกับไตของมนุษย์ โดยนำสิทธิบัตรการทดลองของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่เคยสร้างเนื้อเยื่อไตด้วยเครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิติได้สำเร็จ มาต่อยอดให้กลายเป็นอวัยวะจริง ๆ และสามารถปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยได้ ซึ่งในการสร้างไตด้วยเครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิตินั้น นักวิทยาศาสตร์จะใช้สเต็มเซลล์เป็น “หมึกพิมพ์” ซึ่งสเต็มเซลล์เหล่านี้จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อไตได้ในที่สุด

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในโลกเทคโนโลยีที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน และหากมีนวัตกรรมการแพทย์ใหม่ๆ ที่น่าสนใจเช่นนี้อีก เราจะรีบมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This