พามารู้จักเนื้อปลาหมึก ที่สร้างจาก 3D Print

Must Read

เทคโนโลยี 3D Print เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าทึ่ง เพราะมันสามารถถูกใช้ผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ปัจจุบันจึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยี 3D Print มาใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงในด้านอุตสาหกรรมอาหารด้วย ดังเช่นตัวอย่างที่เรากำลังจะพาคุณมาชมในวันนี้ ก็การสร้าง ชิ้นปลาหมึกจากพืช โดยใช้ 3D Print ซึ่งมันจะน่าสนใจอย่างไร ใครอยากรู้ก็ตามมาดูกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • ในช่วงเวลาที่เราเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ เรื่อง “หมึกสังเคราะห์จากพืช” กลายเป็นหัวข้อที่ก่อให้เกิดความสนใจอย่างแพร่หลาย เนื่องจากในปัจจุบันหมึกในธรรมชาติกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะมีปัจจัยจากสภาวะโลกร้อนที่มีผลต่อการสืบพันธุ์ และการจับสัตว์น้ำเกินความสามารถในการผลิตของธรรมชาติ

  • โดยผลงานเนื้อหมึกสังเคราะห์เป็นของนักวิจัยชาวสิงคโปร์ พวกเขาได้นำเสนอนวัตกรรมหมึกสังเคราะห์จากพืช ที่เต็มไปด้วยโปรตีนสูง และมีรสชาติกลมกล่อมเหมือนหมึกจริง ด้วยการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมาประยุกต์ใช้ เป้าหมายของการผลิตชิ้นหมึกจากพืช คือต้องการการพัฒนาทางเลือกอาหารใหม่สำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานมังสวิรัติ

  • กระบวนการผลิตชิ้นหมึกจากพืชผ่านเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ไม่ใช่เพียงการสร้างอาหารใหม่เท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงถึงความล้ำสมัยของวิทยาการและเทคโนโลยีเพื่อการอาหาร กระบวนการผลิตนี้ นักวิจัยสิงคโปร์ใช้สาหร่ายขนาดเล็กและถั่วเขียว เพื่อให้ได้เนื้อหมึกสังเคราะห์ที่มีรสชาติคล้ายกับหมึกจริง

  • โดยสาหร่ายขนาดเล็กช่วยทำให้มีกลิ่น “คาว” คล้ายๆ กับสัตว์ทะเล และส่วนถั่วเขียวมีบทบาทในการสร้างโครงสร้างและเนื้อของเนื้อหมึกสังเคราะห์ ในส่วนของกระบวนการ จะสกัดสารโปรตีนจากสาหร่ายขนาดเล็กและถั่วเขียว จากนั้นผสมรวมกับน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เพื่อสร้างส่วนผสมที่มีคุณค่าทางโภชนาการเทียบเท่ากับหมึกจริง หลังจากนั้นเนื้อหมึกสังเคราะห์จะผ่านกระบวนการที่ใช้อุณหภูมิและถูกบีบผ่านเครื่องพิมพ์ 3 มิติเพื่อให้ได้รูปร่างวงกลมที่เลียนแบบรูปทรงและพื้นผิวของปลาหมึก

  • แน่นอนว่าความท้าทายนี้ยังไม่สิ้นสุด ผู้วิจัยจะต้องพัฒนาวิธีสร้างผิวสัมผัสที่เหนียวและทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าเนื้อหมึกสังเคราะห์นี้จะไม่เป็นสาเหตุของการแพ้อาหารทะเล

  • คุณปูร์นิมา วิจายาน นักวิจัยเรื่องการผลิตชิ้นหมึกจากพืช ได้กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนาอาหารทะเลสังเคราะห์นี้ว่า ในอนาคตปริมาณอาหารทะเลจะลดน้อยลง ทำให้การพัฒนาโปรตีนทางเลือกเป็นเรื่องที่จำเป็น และในประเทศสิงคโปร์ที่ได้นำเข้าอาหารทะเลมากกว่า 90% นักวิจัยนี้ได้เสนอนวัตกรรมนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมโยงวงการอาหารที่ไม่ทำลายระบบนิเวศ

 

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยี 3D Print ที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบถูกใจคอเทคโนโลยีกันทุกคน และหากมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี 3D Print อีกเราจะรีบมาอัพเดตให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This