เหล่าผู้นำรุ่นใหม่จากพรรคการเมืองในหลายชาติแอฟริกาโรงเรียนโมเดลจีน

Must Read

คอข่าวต่างประเทศมารวมกันทางนี้ เพราะครั้งนี้เราจะพาทุกท่านมาติดตามความเคลื่อนไหวสำคัญในแอฟริกาใต้กันบ้าง โดยล่าสุดเหล่าผู้นำรุ่นใหม่จากพรรคการเมืองในหลายชาติแอฟริกา ตบเท้าเข้าเป็นนักเรียนชุดแรกของโรงเรียนส่งเสริมความเป็นผู้นำในประเทศแทนซาเนีย ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากพรรคคอมมิวนิสต์จีนกว่า 1,415 ล้านบาท ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร เรามาติดตามกันเลย

สรุปข้อมูลและรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้

  • โรงเรียนส่งเสริมความเป็นผู้นำแห่งนี้ มีชื่อว่า ‘มะวาลิมู จูเลียส ไนเรเร’ (Mwalimu Julius Nyerere Leadership School) ตั้งอยู่ในเมืองคิบาฮา ซึ่งอยู่ห่างจากนครดาร์ เอส ซาลาม เมืองใหญ่ที่สุดของแทนซาเนีย ราว 40 กิโลเมตร
  • โรงเรียนแห่งนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากพรรครัฐบาล 6 พรรคจากหลายประเทศในแถบแอฟริกาตอนใต้ พร้อมเงินสนับสนุนเพิ่มเติมกว่า 1,415 ล้านบาท จากพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  • โรงเรียนแห่งนี้เริ่มเปิดการอบรมครั้งแรก เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีผู้เข้าร่วมอบรม 120 คนจากพรรครัฐบาลประเทศแทนซาเนีย แอฟริกาใต้ โมซัมบิก ซิบบับเว นามิเบีย และแองโกลา เข้าร่วมเป็นรุ่นแรก
  • เป้าหมายของโรงเรียนแห่งนี้ คือ เป็นสถาบันที่จะส่งเสริมวัฒนธรรม การเมือง และความสัมพันธ์กับประเทศจีน ผ่านการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำ ภายใต้หลักการทูตแบบ ‘พรรคต่อพรรค’
  • แล้ว ทำไมต้องแทนซาเนีย? แทนซาเนีย เป็นหนึ่งในหลายประเทศในแถบแอฟริกาตอนใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากลัทธิเหมา และพรรคคอมมิวนิสต์ ในช่วงทศวรรษที่ 1960-1970 ภายใต้การนำของผู้ก่อตั้งประเทศ จูเลียส ไนเรเร
  • แม้ต่อมาความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับทวีปแอฟริกาจะมุ่งเชิงเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของจีนในทวีป แต่อิทธิพลของระบอบสังคมนิยมจีนยังคงมีให้เห็นและรู้สึกได้ในประเทศแทนซาเนีย และอีกหลายชาติ
  • ไม่เพียงเท่านั้น พรรคการเมืองของหลายชาติ อาทิ แอฟริกาใต้ แองโกลา นามิเบีย และซิมบับเว ให้ความสนใจต่อระบอบการปกครองและการพัฒนาเศรษฐกิจ ในฐานะแบบอย่างการขับเคลื่อนประเทศของตนเอง
  • กระนั้น ผู้สังเกตการณ์มองว่า ไม่มีประเทศใดในทวีปแอฟริกาที่จะนำหลักการ ‘จีนโมเดล’ มาใช้เต็มตัว รวมถึงระบบรัฐบาลพรรคเดียว และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนผ่านรัฐเป็นหลัก
  • ด้านจีนนั้นก็พยายามกระชับความสัมพันธ์ทางการเมืองกับพรรครัฐบาลของชาติแอฟริกามากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากการเชิญเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายประเทศ เข้าร่วมโครงการศึกษาดูงานในจีนหลายร้อยคนต่อปี
  • แม้โควิด-19 จะทำให้โครงการแลกเปลี่ยนดังกล่าวต้องหยุดชะงักไป แต่การประชุมและอบรมผ่านโลกออนไลน์บางส่วนยังดำเนินต่อ ด้วยแรงสนับสนุนจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ที่ต้องการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างจีนและแอฟริกาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
  • ฌอง ปิแอร์ คาเบสแตน นักวิจัยอาวุโสศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติฝรั่งเศส และยังเป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยแบบติสต์ในฮ่องกง ระบุว่า ยุทธศาสตร์การกระชับมิตรของจีนกับชาติแอฟริกาในตอนนี้ จะเน้นการพัฒนาความสัมพันธ์กับพรรครัฐบาลเป็นหลัก มากกว่าการเข้าหาพรรคฝ่ายค้าน
  • ผู้สังเกตการณ์เองยังเห็นว่า อุดมคติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้พัฒนาและดัดแปลงให้เหมาะกับยุคสมัยมากขึ้น
  • ความคล่องตัวนี้เอง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้นำทางการเมืองในชาติแอฟริกาให้ความสนใจต่อระบอบการปกครองของจีน และความสำเร็จทางเศรษฐกิจของจีนด้วย แม้ว่าประเทศแอฟริกาและจีน จะมีความแตกต่างกันมากก็ตาม
  • ทั้งนี้ คาเบสแตนชี้ว่า เป้าหมายของจีนในการร่วมสร้างโรงเรียนผู้นำแห่งนี้ ไม่ใช่การส่งออก ‘จีนโมเดล’ ไปยังประเทศอื่น แต่เป็นการส่งเสริมธรรมาธิบาลแบบจีน โครงสร้างเศรษฐกิจ และ “ประชาธิปไตย” แบบจีน ให้นานาประเทศเข้าใจมากกว่า
  • คาเบสแตนยังเปิดเผยข้อมูลว่า ปัจจุบัน พรรคคอมมิวนิสต์จีน มีความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 110 พรรค ใน 51 ประเทศแอฟริกา จากทั้งหมด 54 ประเทศ
  • แต่พรรคการเมือง 6 พรรคที่เข้าร่วมในภาคการศึกษาแรกของโรงเรียน ‘มะวาลิมู จูเลียส ไนเรเร’ มีความน่าสนใจตรงที่ล้วนเป็นพรรครัฐบาลที่บริหารประเทศมาตลอด โดยไม่มีสะดุด หรือแพ้การเลือกตั้งให้ฝ่ายค้าน นับแต่ประเทศของตนเองได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม
  • เดวิน ชินน์ ศาสตราจารย์ คณะการเมืองระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน และยังเป็นอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำเอธิโอเปีย มองว่า ชั้นเรียนลักษณะนี้ ไม่เพียงเป็นการสร้างพันธมิตรในระดับชนชั้นปกครอง แต่ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์กับจีนในตัวด้วย และอาจรวมไปถึงการปูทางสู่การทำให้พรรคของตนเองเป็นพรรครัฐบาลอย่างถาวรในประเทศของตน
  • “ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์จีนก็จะใช้การอบรมนี้ เพื่อส่งเสริมให้พรรคการเมืองชาติแอฟริกายอมรับอุดมคติทางการเมืองและเศรษฐกิจของจีน” ชินน์ กล่าว

และนี่ก็คือข่าวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจจากแอฟริกาใต้ที่เราอยากแจ้งให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่คอข่าวต่างประเทศทุกคน และหากมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในกลุ่มประเทศแอฟริกาใต้เช่นนี้อีก เราจะรีบอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบก่อนใครทันที

อัพเดท! ก่อนใคร

เรื่องราวเจ๋งๆ ล้ำๆ สดใหม่ถึงคุณโดยตรงเพียงแค่กรอก Email ไว้เท่านั้น

รายละเอียดเงื่อนไขที่ privacy policy.

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisement -

Latest News

สรุปสถานการณ์ตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก: ผลกระทบจาก Fed, ราคาน้ำมัน

ตลาดหุ้นทั่วโลกประสบกับการปรับตัวลดลง ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐพุ่งสูงขึ้น ภายใต้ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ในเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ด้านราคาน้ำมันพบกับความผันผวน โดยมีการเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ก่อน และลดลงในวันที่ 8 เมษายน หลังการเจรจาหยุดยิงในตะวันออกกลาง ทองคำก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเช่นกัน เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไต้หวันส่งผลกระทบจำกัดต่ออุตสาหกรรมผลิตชิป และตลาดหุ้นจีนได้รับประโยชน์จากข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีกว่าคาด เงินเฟ้อในยุโรปก็แสดงถึงการลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยจากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในเดือนมิถุนายน ด้านผู้จัดการกองทุนต่างคาดการณ์ว่าตลาดโดยรวมจะแกว่งตัวตามข้อมูลเงินเฟ้อและผลประกอบการของบริษัทในสหรัฐฯ ภาพรวมตลาดที่ผ่านมาแกว่งตัวในแนวข้าง...
- Advertisement -

More Articles Like This